การติดตั้งหินอ่อน-หินแกรนิต
ก่อนที่จะเข้าเรื่องของการปูพื้นหรือการติดตั้ง การเลือกชนิดของหินก็เป็นปัจจัยสำคัญ
อันหนึ่งเช่นกัน เราลองมาดูกันว่า หินแบบใดเหมาะกับห้องหรือผนังที่ใด
หินอ่อนเหมาะกับงานที่เจ้าของบ้านต้องการความนุ่มนวล ซึ่งจะเหมาะมากในการนำมา
ปูพื้นผนังในห้องน้ำรับแขกที่ไม่เปียกมาก ส่วนหินแกรนิตเหมาะกับพื้นและผนังภายนอก เพราะความ
แข็งแรงทนทานที่มีมากกว่า
แต่ที่แน่ ๆ ที่ไม่อยากแนะนำให้ปูพื้นหินเลย คือ ห้องนอน เพราะหินเป็นวัสดุที่เก็บ
อุณหภูมิดีมาก ถ้าเย็นก็เย็นจริง ๆ ถ้าร้อนก็ร้อนสุด ๆ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะมากกว่า คือ ไม้แต่ถ้าเป็น
ห้องทั่ว ๆ ไปแล้ว หินสามารถนำมาปูพื้นได้เหมาะเพราะดูแลง่าย
ส่วนเรื่องของการปูพื้นเราสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนที่แน่นอนคือ ส่วนแรกเป็นผิว
หน้าของพื้น ซึ่งเกิดการสึกหรอจากการใช้ คนที่เดินไปมาจะยืนอยู่บนส่วนนี้ ส่วนที่สอง คือ ส่วนรับรอง
หรือส่วนฐานรากของพื้น
ซึ่งประกอบด้วยชิ้นทั้งหมดที่อยู่ใต้ส่วนที่เป็นผิวหน้า ข้อกำหนดที่ N7998 ของคณะกรรมการมาตรฐาน
แห่งอิตาลี (Italian Board of Standardizations) ในหัวข้อศัพท์เกี่ยวกับการปูพื้น (Floor Terminology)
ได้กำหนดคำจำกัดความ รวมทั้งการแบ่งชั้นต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นพื้น (Floor substructure)ดังต่อไปนี้
For diamond polishing pads suit to this chamfering machine, see this page.
การจำแนกประเภทของการปูพื้นด้วยหิน
จากคำจำกัดความข้างต้น การปูพื้นด้วยหินธรรมชาติสามารถจำแนกตามวิธีการปูผิวหน้า
ซึ่งแตกต่างกัน (Surface Covering) ซึ่งการปูผิวหน้าอาจเป็นแบบที่ผลิตให้ประกอบกันเข้าได้ง่ายที่เรียกว่า
“Prefabricated Elements” เช่น ของ ที่ผลิตสำเร็จรูปจากโรงงานหรือแบบที่มีลักษณะในวัสดุสำเร็จรูปน้อยกว่า
ต้องการงานที่บริเวณหน้างานมากขึ้น ดังนั้นจึงใช้ชื่องานเป็นแบบ “ผิวหน้าประกอบที่หน้างาน”
(Floor Covering Executed On Site)
นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ในการจำแนกวิธีการปูพื้น เช่น ชนิดของหินที่ใช้
ลักษณะทางเรขาคณิตของพื้นวิธีการขัดมันที่ใช้และวิธีติดตั้งชั้นงานเหล่านี้ ซึ่งพอสรุปประเภทของพื้นตามวิธี
ทางเทคนิคต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ได้ กล่าวคือ
ส่วนรองรับหรือส่วนฐานราก (Support or Foundation) : ชั้นเหล่านี้เมื่อรวมกันเข้าทั้งหมดจะประกอบ
กันเป็นส่วนรองรับ หรือส่วนฐานรากอยู่ใต้ส่วนที่ผิวหน้า
ข้อควรสังเกตุ : บางชั้นจะช่วยทำหน้าที่หลักของส่วนฐานราก ในขณะที่ชั้นบางชั้นทำหน้าที่ช่วยส่งเสริม
ประสิทธิภาพ
ส่วนที่เป็นผิวหน้า (Floor Covering) : เป็นชั้นสุดท้ายของการปูพื้น ซึ่งจะออกแบบให้มีลักษณะ
ตรงตามความต้องการทั้งทางด้านกลศาสตร์, เคมี และกายภาพ ตลอดจนการออกแบบให้ได้ผิวหน้าที่
ดูสวยงามและปลอดภัย
การปูพื้นแบบติดตามขนาดที่กำหนด (Cut-to-size Flooring) ประกอบด้วยหินที่มีสีเดียวกันหรือ
ต่างกัน โดยติดตามคุณลักษณะเฉพาะรูปแบบที่กำหนด โดย หินแต่ละแผ่นจะถูกกำหนดตามตำแหน่งสีและ
แนวตามที่กำหนดไว้ในการออกแบบ จากนั้นจะทดลองปูหินเหล่านี้บนพื้นรองรับที่แห้งในห้องโรงงานเพื่อ
ตรวจสอบสี และรูปแบบ (Patterns) เมื่อเรียงประกอบกันจะถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่
สำหรับหินแผ่นที่ไม่เหมาะสมจะต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ให้เหมาะสมกว่า
พื้นที่มีรูปแบบของการประดับจะประกอบด้วยแผ่นหินที่มีสีต่าง ๆ กัน หรือสีเดียวกันวางต่อกันไป
ในลักษณะที่จะทำให้เกิดรูปแบบดังกล่าว ด้วยการประดับหินอื่นลงในระหว่างที่มีสีเดียวกันและสม่ำเสมอที่
ใช้เป็นสีพื้น หรือโดยวิธีที่ประดับตามแนวรอยต่อของหินที่ใช้เป็นสีพื้น
รูปแบบของการประดับนี้อาจทำได้อีกวิธีหนึ่ง โดยการสอดใส่เส้นโลหะ ซึ่งทำด้วยเหล็กหรือบรอนซ์
ซึ่งเรียกว่า “Runner” ในร่อง (Groove) ซึ่งเซาะไส้เป็นพิเศษไว้บนพื้นผิว
ถึง แม้ว่าจำนวนรูปแบบและการออกแบบการประสมประสานของสีจะมีไม่จำกัด แต่รูปแบบที่มี
ระดับนิยม คือ รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วยหินอ่อนสีขาวร่วมกันของหินอ่อนสีแดงดำหรือเทา หรือรูปแบบซึ่ง
ประกอบด้วยแร่ทราเวอร์ทีน สีดำร่วมกับหินอ่อนสีแดง
พื้นที่ มีรูปแบบของการฝังประดับ แสดงให้เห็นรูปแบบของการปูพื้นที่มีการตกแต่งอย่าง
วิจิตรพิสดาร และมีลักษณะเฉพาะตัว พื้นแบบนี้ไม่ได้เกิดจากการวางหิน ซึ่งมีรูปร่างขนาดและสีต่างกันเรียง
ต่อกันเป็นรูปแบบต่าง ๆ หากแต่เป็นการสอดใส่วัสดุต่าง ๆ ตามที่ออกแบบไว้ลงในช่อง ซึ่งเซาะไว้บนหินซึ่ง
เป็นชั้นผิวหน้าของพื้น
เมื่อกล่าวถึงเรื่องพื้นที่ปูด้วยหินล้วน ๆ แล้ว ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าวถึงเทคนิคการสร้างที่มุ่ง
เพื่อการใช้ประโยชน์ที่เรียกว่า การปูพื้นแบบยกพื้น (Raised Flooring) ตาม ที่เป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลายว่าระบบ
นี้ช่วยให้เกิดช่องว่างในการวางสาย เคเบิลต่าง ๆ และการโยงยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งสองจะวางอยู่ใต้พื้นของ
สำนักงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้สายเคเบิลต่าง ๆ และส่วนโยงยึดเหล่านี้
จะต้องอยู่ในลักษณะที่เข้าไปติดตั้งบำรุงรักษาได้ง่ายจากผิวพื้นของสำนักงานเหล่านั้น
ระบบนี้ประกอบด้วยเสาขนาดเล็ก (ความสูงเป็นไปตามขนาดของเนื้อที่ที่ต้องการใต้พื้นดิน)
ซึ่งค้ำยันโครงสร้างเหล็กกล้าในแนวราบที่ถูกออกแบบให้อยู่ในชั้นพื้นผิว (floor Covering) อีกทีหนึ่ง ตามผลการ
ทดลองใช้ในปัจจุบัน การใช้หินแผ่นขนาดมาตรฐานและขัดไว้ล่วงหน้าปูพื้นผิว โดยใช้ตัวเชื่อมประสานเป็น
ปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องมาจากผลทางด้านความสวยงามประการหนึ่ง และผลทาง
ด้านการทนทานต่อการสึกกร่อนอีกประการหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังจะต้องดูต่อไปว่า วิธีติดตั้งแบบนี้จะไปสู่ความ
สำเร็จที่แท้จริงหรือไม่
การปูชั้นผิวหน้า (Laying the Floor Covering)
วิธีการปูหินที่หนาและบางขึ้นอยู่กับว่าจะใช้วิธี “Bonding” หรือ “Adhesion”
การติดตั้งด้วยการใช้พื้นรองรับเป็นชั้นยึดหิน (Bonding Layer of Bedding)
วิธีการนี้ตามศัพท์ทางช่างมักจะเรียกกันว่า การ ปูซาลาเปา คือผสมปูนแล้วเทวางเป็นจุด ๆ ไม่ได้ฉาบให้ทั่ว จากนั้นจึงนำแผ่นหินมาวางทับและเคาะ
ให้ทั่วแผ่นหิน เพื่อกระจายปูนออกไปด้านข้าง ซึ่งวิธีการนี้แม้ว่าจะประหยัดเวลา ประหยัดทุน แต่ความทนทานย่อมเป็นไปตามคุณภาพของวิธีการ
การติดตั้งแบบนี้จะใช้หินแผ่นปูพื้นชนิดหนา โดยปกติประกอบด้วยพื้นรองรับหนา 2-3 เซนติเมตร ทำจาก Mortar ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ซึ่ง เป็นชั้นที่อยู่ใต้
หินปูหรือเพื่อให้แผ่นหินเหล่านี้ติดอยู่กับข้างใต้ถัดไป (ซึ่งอาจเป็นพื้นรองรับ หรือเมื่อวางท่อชดเชยความไม่สม่ำเสมอบนพื้น) หรืออาจเป็นชั้นอื่นใดก็ได้ตามที่ออกแบบ
แผ่นหินแต่ละชั้น หลังจากทำให้เปียกแล้วจะวางด้วยมืออย่างระมัดระวังให้อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดและเคาะเบา ๆ ให้เข้าที่ โดยต้องมั่นใจว่ามันอยู่ในระดับเสมอกับ
แผ่นอื่นและด้านข้างของแผ่นนั้นเข้าแนวได้ดีกับส่วนที่เหลือของพื้น เมื่อวางแผ่นหินเรียบร้อยแล้ว ร่องรอยต่อระหว่างแผ่นหินเหล่านี้ควรเสริมให้เต็มด้วยซีเมนต์สีขาว
(หรือสีอื่นที่เหมาะสม) อย่างน้อยต้อง 20 วันผ่านไปแล้ว ก่อนที่จะสามารถขัด (Hone) ชักเงา (Polish) โดยใช้เครื่องขัดเงาที่เป็นเครื่องขัดละเอียดที่ใช้น้ำ
(finer abrasives plus water) ซึ่งจะขัดพื้นผิวและชักเงา ในขั้นสุดท้ายจะใส่กรดออกชาลิก (Oxalicacid H2 C2 04) เพื่อทำให้สีของหินสว่างขึ้น และมีลักษณะ
ผิวเหมือนกระจกเงา
ด้วยเหตุผลนี้ในบางครั้งการปูโดยใช้วิธี Bonding method สามารถที่จะก่อปัญหาในการวางแผนงานได้เป็นอย่าง
มาก เนื่องจากจะต้องปูหินเมื่อการก่อสร้างอยู่ในขั้นกลาง ในขณะที่การขัดเงาจะต้องกระทำในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อที่จะ
หลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อผิวหน้าที่เสร็จแล้ว ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมถึงช่วงเวลาการรอที่ต้องการสำหรับการ
ปู-ขัดเงา ตลอดจนการที่จะต้องขจัดน้ำและโคลนจำนวนมากที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผิว
ควรจะสังเกตว่าการขัดเงาในพื้นที่ (In Situ) ไม่สามารถจะกระทำได้ในบางส่วนของพื้นบริเวณผิวหน้า ซึ่งหมายความว่าชั้น
จำนวนหนึ่งจะต้องได้รับการขัดล่วงหน้าก่อนปูเสมอ
การติดตั้งแบบ Adhesive Layer
การติดตั้ง Adhesive Layer จะต้องใช้สำหรับการปูหินที่บางและเป็นแบบขัดไว้ล่วงหน้าแล้ว อย่างไรก็ตาม
ควรระลึกไว้ด้วยว่า วิธีนี้ใช้ได้กับหินที่หนาที่จะถูกขัดปูกับที่ได้ด้วย แทนที่จะติดตั้งโดยวิธีปกติแบบ bonding method เมื่อปูด้วย
Adhesive-method ควรจะสร้างฐานรากที่หนาพอสมควรด้วยซีเมนต์ประสม (Conglomerated Cement) ทำให้เรียบหรือเป็นช่อง ๆ
ในกรณีที่ฐานรากนี้แข็งตัวแล้ว และมีความชื้นที่เหมาะสม จะได้ทาหรือฉาบกาว (Adhesive) หรือ Mastics ได้เลย Adhesive หรือ
Mastics เหล่านี้จะต้องเตรียมเป็นพิเศษจากซีเมนต์ที่ใช้เป็นรองพื้น (Base) ผสมกับทรายที่มี Silica 50% (Siliceous Send)
และยางสน (Resins) ซึ่งสามารถจะละลายผสมในน้ำมันหรือกาวลาเท็กซ์ (Rubber Latex) โดยใช้พายกวนที่มีลักษณะเป็นฟันปลา
(Serrated Patula)
จากนั้นจึงปูแผ่นที่บางและขัดแล้วกดเบา ๆ จนกระทั่งได้ระดับและเป็นแนวเดียวแผ่นข้างเคียง โดยที่ระดับ
สุดท้ายของ Adhesive หนาประมาณ 4 มิลลิเมตร ขบวนการนี้จะสมบูรณ์ได้โดยการเชื่อมรอยต่อนั้นด้วย ปูนขาวที่เตรียม
เป็นพิเศษ โดยประกอบด้วยปูนซีเมนต์ผสมกับผงสี, ยางสน และสารช่วยกันน้ำ หรือมิฉะนั้นก็เชื่อมติดด้วยปูนซีเมนต์และ
ผงสีตามปกติ กำลังการยึดติดที่แน่นสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะแต่เมื่อฐานรองเป็นคอนกรีตประสม (Conglomerated Cement)
ตามที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น สภาพนี้อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผิวพื้นเรียบและไม่ดูดซีมมาก หรือแม้แต่ในกรณีที่ปูนบนผิวพื้นเก่า
ยิ่งกว่านั้นพื้นสามารถที่จะใช้ได้ภายใน 24-36 ชั่วโมง หลังจากปูโดยไม่ต้องผ่านขบวนการขัดมันอีก ดังนั้นระบบนี้จึงทำให้การ
ติดตั้งกระทำได้ง่ายมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งในที่ซึ่งต้องการะบบฐานรากที่เบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือที่ซึ่งพื้นผิวใหม่จะ
ต้องถูกวางบนพื้นผิวเก่าโดยไม่ต้องรื้อทำลายพื้น เก่านั้น หรือเมื่อไรก็ตามที่ต้องการหลีกเลี่ยงการรอ 20 วัน ก่อนที่จะขัดพื้น
ในกรณีที่ใช้หินแผ่นที่ขัดไว้ล่วงหน้า ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของระบบนี้ก็คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องขัดในพื้นที่
(In Situ) ดัง นั้นจึงช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของน้ำและโคลน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะวางแผนการปูพื้น
ให้เหมาะสมเข้ากับแผนการก่อสร้าง อาคารในส่วนรวม เนื่องจากสามารถที่จะวางพื้นรองรับ (Settingbed) ไว้ล่วงหน้า
ขณะที่การปูพื้นผิวสามารถที่จะกระทำได้ในระหว่างช่วงสุดท้ายของการสร้างอาคาร
การเชื่อมรอยต่อ (Sealing Joints)
Stone sealer and detergent, oil and stain rust remover
ถ้าเป็นแบบที่วางหินแผ่นติดกัน ควร จะฉาบด้านข้างของหินด้วยซีเมนต์ให้เรียบและสม่ำเสมอก่อนที่จะปู
เมื่อปูเข้าที่แล้วจะทำให้รอยต่อเรียบด้วยการใช้ปูนฉาบจำนวนเล็กน้อยแล้วทำ ให้แห้งด้วยผงซีเมนต์และขัดด้วยผ้าในภายหลัง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าการติดตั้งเป็นแบบมีช่องว่างระหว่างรอยต่อซึ่งเป็นกรณีผิดปกติของการปูพื้น จะต้องปล่อยให้ปูนขาว
บางส่วนไหลย้อนกลับเข้าไปในรอยต่อ เพื่อวางหินแผ่น ส่วนช่องว่างที่เหลือจะอุดด้วยซีเมนต์ขาวและผงหินอ่อน จะใช้ได้ใน
กรณีนี้ด้วยของเหลวที่ใช้อุดหรือเชื่อมรอยต่อย่างระมัดระวัง โดยใช้ของเหลวที่ใช้อุดกระจายตามรอยต่ออย่างสม่ำเสมอ
โดยใช้ที่ขูดซึ่งทำด้วยยาง (Rubber Scraper) ปาดรอยเชื่อม โดยปาดทแยงมุมเอียงกับรอยต่อ
ปัจจุบัน มีผู้นิยมปูพื้นด้วยหินที่ตัดอย่างหยาบ ๆ มากขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ต้องขัดหลังจากปูหินไปแล้ว
ประมาณ 10 วัน วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับพื้นที่ขัดมันแบบหยาบ (Rustic) เมื่อทำการขัดมันไปแล้วจะใส่
น้ำซีเมนต์ที่ไม่ข้นมากเป็นจำนวนเล็กน้อยตามรอยต่อเพื่อให้แน่ใจว่ารอยต่อเหล่านั้นผนึกเชื่อมกันอย่างสมบูรณ์
ซึ่งน้ำซีเมนต์เชื่อมรอยต่อนี้จะเริ่มแข็งตัวภายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นจึงขูดปาดซีเมนต์เชื่อมรอยต่อส่วนเกินออก
และเช็ดให้สะอาด โดยขูดทแยงเป็นมุมเอียงกับรอยต่อแล้วจึงโปรดขี้เลื่อยสีขาวที่แห้งลงบนพื้น ขัดพื้นด้วยการลงขี้เลื่อยแห้ง
เพื่อขจัดซีเมนต์เชื่อมรอยต่อที่อาจยังหลงเหลืออยู่ออก และในขั้นสุดท้ายจะโปรยผงขี้เลื่อยที่เปียกชื้นลงบนพื้นและขัดซ้ำอีก
ครั้ง พึงระลึกไว้เสมอว่า ความสำเร็จในการปูพื้นและความมั่นคงแข็งแรงของพื้นขึ้นอยู่กับคุณภาพในการเชื่อมรอยต่อเป็น
อย่างมาก
กรณีพื้นกว้าง ๆ จะต้องใส่ข้อต่อสำหรับการขยาย (Expansion Joint) ซึ่งมีความกว้างและมีความยืดหยุ่น
โดยคอหุ้มด้วยอุปกรณ์หุ้มที่เป็นโลหะแบบมาตรฐาน หรือแบบ “Runner”
Laying Tolerance ตามาตรฐานProfessional Standards ซึ่งกำหนดขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์/มีนาคม 2541
โดยสหพันธ์ผู้ผลิตหินอ่อนแห่งประเทศฝรั่งเศส (The Federation of France Marble Producer) ได้กำหนดมาตรฐานที่
ยอมรับได้สำหรับการปูพื้นให้เอียงลาด เพื่อการระบายน้ำ ดังนี้
- ความต่างระดับสูงสุดระหว่างหินแผ่น 2 แผ่นที่ปูต่อกัน เท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร
- บนระนาบใดระนาบหนึ่งบนพื้นไม้บรรทัดขอบตรงขนาดยาว 2 เมตรที่วางบนพื้นไม่ว่าจุดใด ๆ ไม่ควรแสดง
ความต่างระดับเกิน 2 มิลลิเมตร
การปูพื้นด้วยชิ้นงานมาตรฐาน
การปูพื้นลักษณะนี้จะใช้หินปูพื้นขนาดแบบมาตรฐานหรือวัสดุประกอบอื่น ๆ ขนาดของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะ
กำหนดโดยผู้ผลิต ไม่ได้ถูกกำหนดจากการออกแบบของพื้นที่ที่จะปูพื้น ดังนั้นการออกแบบจะต้องคำนึงถึงการปรับผลิตภัณฑ์
ให้เข้ากับพื้นที่จะปูด้วย
การวางรูปแบบ (Laying Patterns)
การวางรูปแบบด้วยชิ้นงานมาตรฐาน (และที่ไม่มาตรฐาน) สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มต่อไปนี้
- แบบความยาวไม่แน่นอน (Random Length หรือ Irregular Paneling) เป็นกรณีที่ชิ้นงานมีความกว้างเท่า
กันแต่ความยาวต่างกัน (ความยาวอย่างน้อยเป็น 1.5 เท่าของความกว้าง)
- แบบที่มีขนาดแน่นอน (Fixed Dimension) เป็นกรณีที่กำหนดความกว้างและความยาวไว้แน่นอน
โดยอาจปูเป็นรูปแบบ
- เป็นแถว ๆ แน่นอนโดยมีรอยต่อเป็นแนว (Grid Pattern) หรือในแบบ Regu Larly Alternating Panel
- แบบที่ปูชิ้นงานที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ด้านที่สี่ และด้านที่ยาววางเคียงข้างต้น ในลักษณะสลับฟันปลา
(Herringobone Pattern)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Please find attached price list.We are profesional maker for polishing pad
especially for marble or concrete. What quality you are looking for?
Better quality or better effective-cost performance? There's a lot of choices as your
market.

Best selling universal air polishing tools sold across the world. This tool will enhance your
work speed with its light weight and high cutting edge.

วิธีการติดตั้งหิน
วิธีการติดตั้งหินมีอยู่หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่จะติดตั้ง และความชำนาญของช่างที่จะติด
ตั้งด้วย ซึ่งมีวิธีการหลัก ๆ 3 วิธี
1. การติดตั้งโดยใช้ปูนทราย (MORTAR) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปรับระดับและ
ขัดมัน
1.1 ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูหินโดยให้มีระดับ สำหรับเทส่วนผสมของปูนทราย (MORTAR)
เพื่อปูหินอยู่ระหว่าง 3-5 ซม. (ไม่รวมความหนาของหิน) ถ้ามากหรือน้อยกว่าควร
ทำการแก้ไข
1.2 ผสมปูนทรายในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตร ปูน 4 กิโลกรัม และทราย 8-10 กิโลกรัม
1.3 น้ำส่วนผสมดังกล่าวเทลงบนพื้นที่จะติดตั้งหิน และทำการปรับให้ได้ระดับ ก่อนที่จะเอาหินลง
ติดตั้ง
1.4 ใช้กาวซีเมนต์ผสมน้ำทาบนหลังหินที่จะติดตั้ง แล้วยกวางลงบนตำแหน่งที่ต้องการ โดยใช้
ค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อให้ได้ระดับ หรือใช้น้ำยาประสานปูนทาบนหลังหินที่จะติดตั้งแทนก็ได้
(ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในขณะนี้เพราะสะดวกและรวดเร็ว)
1.5 ทำการจัดวางแผ่นหินและแนวรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อประมาณ
1- 2 มม. เมื่อวางแผ่นหินจนเต็มพื้นที่แล้วควรปล่อยให้ MORTAR เซ็ทตัวประมาณ 72 ชั่วโมง
1.6 หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างหิน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องหิน
โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นใช้วัสดุ-
ยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ เศษของวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออกมารีบ
เช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาด ๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว
ข้อควรระวัง : ไม่ควรติดตั้งโดยใช้วิธีการแบบซาลาเปา เนื่องจากจะมีโพรงอากาศเป็นช่องว่างใต้ผิวพื้นหินอ่อนอัด
อาจจะมีผลทำให้หินอ่อนอัดหลุดร่อนและแตกง่าย
หมายเหตุ ส่วนผสมของปูน MORTAR, ซีเมนต์กาว, น้ำยาประสานปูนและวัสดุยาแนว โปรดสอบถามบริษัท-
ผู้ผลิตเพื่อป้องกันการผิดพลาดภายหลัง
2.การติดตั้งโดยใช้กาวซีเมนต์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ปรับระดับ
เรียบร้อยแล้ว เพราะกาวซีเมนต์ ก็คือ ส่วนประกอบของปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ ทรายและวัสดุผสมพิเศษอื่น ๆ
ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละรายเหมาะสำหรับพื้นที่ปรับระดับเรียบร้อยแล้ว
Complete lineup for stone grinding tools | Grinding disc
2.1 ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูหินให้ได้ระดับตามต้องการถ้ามากหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข
2.2 ล้างทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่น,น้ำมัน,สีมเศษปูนและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ
และกวาดน้ำที่ค้างบนผิวให้หมดก่อนที่จะใช้ซีเมนต์กาว
2.3 ผสมกาวซีเมนต์ตามส่วนและวิธีของผู้ผลิตกาวซีเมนต์ โดยทั่วไป กาวซีเมนต์ 1 ถุง (15-20 kg.)
ต่อน้ำ 3-5 ลิตร แล้วแต่ละตราผลิตภัณฑ์ระบุ
2.4 เทกาวซีเมนต์ลงบนพื้นให้เพียงพอสำหรับหินที่จะติดตั้ง ใช้เกรียงหวีฟันปลาปาดให้เป็นร่องให้
ทั่ว รวมถึงบริเวณหลังแผ่นหินที่จะติดตั้งด้วย (เบอร์ของหวี แล้วแต่รุ่น, ยี่ห้อ, กาวซีเมนต์ที่ใช้)
จากนั้นนำหินปูลงบนกาวซีเมนต์เคาะด้วยค้อนยางเบา ๆ เพื่อให้ได้ระดับ
2.5 ทำการจัดงานแผ่นหินและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ
ประมาณ 1-2 mm. เมื่อวางแผ่นหินเต็มพื้นที่แล้ว แล้วควรปล่อยให้กาวซีเมนต์เซ็ทตัว(ตาม
กำหนดระยะเวลาของกาวซีเมนต์ที่เลือกใช้) โดยในระหว่างนี้ควรทำความสะอาดหิน แล้ว
ป้องกันด้วยแผ่นพลาสติก POLYHENE SHEET และกระดาษลูกฟูกหรือไม้อัดตามแต่สภาพ
หน้างาน เพื่อให้การก่อสร้างส่วนอื่น ๆ สามารถทำต่อไปได้โดยพื้นผิวไม่เสียหาย
2.6 หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างหินเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกค้างตามร่องหิน
โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็งหลังจากนั้นใช้วัสดุ-
ยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศของเศษวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออกมารีบ
เช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาด ๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว
หมายเหตุ การใช้กาวซีเมนต์ควรทำตามวิธีของบริษัทฯ ผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อเท่านั้นโดยสอบถามและศึกษาวิธีใช้
ของผู้ผลิตนั้น ๆ และควรสังเกตว่ากาวซีเมนต์ที่เลือกใช้หมดอายุหรือยัง โดยปกติกาวซีเมนต์จะมีอายุ
ประมาณ 3 เดือนนับจากวันที่ผลิตการใช้กาวซีเมนต์ที่หมดอายุ อาจจะทำให้หินที่ติดตั้งหลุดร่อนได้
ในภายหลัง
3. การติดตั้งโดยใช้กาวสำหรับติดตั้งหิน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับปูทับพื้นเดิมเช่นกระเบื้องเซรามิก,
หินอ่อน,หินแกรนิต,หินขัด, พื้นไม้อัด โดยไม่ต้องการรื้อของเก่าออกหรือใช้กับพื้นที่ที่ต้องการรีบใช้งาน
3.1 ตรวจเช็คพื้นเก่าก่อนว่ามีการหลุดร่อนหรือแตกร้าวอยู่หรือเปล่าถ้ามีควรทำการแก้ไขก่อน
3.2 ล้างทำความสะอาดพื้นผิวเดิมให้สะอาดปราศจากฝุ่น,น้ำมันและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆและเช็ด
พื้นผิวให้แห้งสนิท
3.3 หลังจากนั้นทำตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตกาวที่เลือกใช้ เนื่องจากกาวแต่ละตราผลิตภัณฑ์จะ
มีวิธีที่แตกต่างกัน
3.4 ทำการจัดวางแผ่นหินและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ
ประมาณ 1-2 mm. เมื่อวางแผ่นหินเต็มพื้นที่แล้ว แล้วควรปล่อยให้กาวเซ็ทตัว(ตามกำหนด
ระยะเวลาของกาวที่เลือกใช้)
3.5 หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างของหินเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่อง
หิน โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง หลังจากนั้นใช้
วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่น เพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ เศษของวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออก
Changing stone floor entirely? No way!
มารีบเช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาด ๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว
**อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ,สถาปนิกหรือบริษัทก่อนทำการติดตั้ง
หมายเหตุการใช้กาวเป็นวิธีที่ไม่นิยมในบ้านเรา เพราะมีราคาแพงหาช่างปูยาก เพราะฉะนั้นก่อนใช้ควรปรึกษา
ช่างและบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกาวดังกล่าว
วิธีการติดตั้งหินอ่อนอัด หรือหินเทียม
หินอ่อนอัด หรือ หินเทียม ทาง เลือกใหม่ สำหรับบ้านพักอาศัย อาคารสถานที่ที่ต้องการวัสดุที่มีทั้งความสวย
งามสะดุดตา และคงทนคุ้มค่าในการติดตั้งพื้น บุผนัง หรือใช้ในการตกแต่งภายใน
หินอ่อนอัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากการนำหินอ่อนธรรมชาติขนาดต่าง ๆ มาย่อยแล้วอัดเข้าด้วยกัน
โดยใช้เรซิ่นชนิดพิเศษเป็นตัวเชื่อมให้เกิดการยึดเกาะกันอย่างแข็งแรงซึ่งจะทำให้หินอ่อนอัดมีความสวยงาม
เหมือนหินอ่อนธรรมชาติ แต่มีข้อดีกว่าในแง่ที่ว่ามีอัตราการดูดซึมน้ำและความชื้นต่ำกว่าหินธรรมชาติ
ไม่เกิดรอยด่างได้ง่าย และมีสีสวยสดใยสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ข้อดีต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้อาจจะสูญเปล่า ถ้าปราศจาการติดตั้งที่ถูกต้อง ดังนั้น วัสดุที่ใช้ติดตั้ง
เช่น กาว หรือปูนที่ใช้กับหินอ่อนอัด จึงต้องเลือกและตรวจสอบอย่างรอบคอบโดยจะต้องไม่มีส่วนผสมของกรดด่าง
ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ระหว่างการติดตั้ง
วิธีการติดตั้งขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่จะติดตั้งด้วย หลักทั่ว ๆ ไปของการติดตั้งหินคือ จะต้องใช้น้ำเป็นส่วนผสม
ในจำนวนที่น้อยที่สุด เนื่องจากหินอ่อนอัดเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้มาตรฐานและขัดเงาเรียบร้อยแล้ว จึงเหมาะที่จะใช้ติดตั้ง
โดยตรงบนพื้นผิวที่ได้ระดับ เช่น บนพื้นปูนซีเมนต์ที่ราบเรียบ หรือผนังปูนที่เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นผิวที่ไม่เรียบควรใช้วิธีการ
ติดตั้งแบบปูนทราย
Stone cleaning method
Stone such as marble, granite, and travertine has become essential to our daily life. It has been
used for interior and exterior use since ancient times all over the world. Thus, although stone is extremely
common and familiar, with time, all stone floorings, granite, and marble products start to lose their crispness
and shine because of the constant wearing off underfoot and everyday usage in kitchens, bathrooms, hallways,
stairways, and so on. Due to everyday use, some stone gets contaminated by rust and stains, which makes the
stone floor look unattractive. All the beauty that once attracted us is lost and the prominent design that was
once exclusive becomes just a part of the dirty floor. It can be said that if there is stone, there is a need for
stone cleaning.
ในระหว่างการติดตั้งควรรักษาหินอ่อนอัดอยู่ตลอดเวลา หลังจากการติดตั้งแล้ว จะต้องทำความสะอาด และต้อง
ป้องกันพื้นที่ที่ติดตั้งแล้วด้วยแผ่น POLYTHENE SHEET เพื่อกันฝุ่น น้ำและความชื้น แล้วปิดทับด้วยแผ่นไม้อัดเพื่อป้องกันไม่
ให้ผิวพื้นเสียหาย เพื่อให้การก่อสร้างส่วนอื่น ๆ สามารถทำต่อไปได้
ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เช่น พื้นที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง หรือที่สภาวะอากาศในเขตร้อน พื้นที่ทั้งหมดที่
ได้รับการติดตั้งแล้วจะต้องคลุมด้วย POLYTHENE SHEET อย่างน้อย 24 ชั่วโมง และต้องระมัดระวังการยาแนวรอยต่อ
(โดยจะเว้นไว้ประมาณ 1-2 mm.) เป็นพิเศษด้วย ถ้าใช้กาวในการติดตั้งการยาแนวจะต้องทำหลังจากที่กาวเซ็ทตัวแล้ว
ซึ่งสามารถสอบถามได้จากบริษัทที่ผลิตกาวนั้น ๆและต้องรีบทำความสะอาดเศษหิน,ปูนที่ล้นเกินจากการยาแนว
โดยใช้ผ้าหรือขี้เลื่อยเช็ดออกไปก่อนที่มันจะแห้ง
การติดตั้งหินที่ผนัง การติดตั้งหินที่ผนังมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพสถานที่ที่จะใช้งานเพราะต้องคำนึง
ถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
- ผนังสูงไม่เกิน 3 เมตรควรใช้กาวติดตั้ง
- ถ้าเป็นผนังสูงมาก ๆ เกิน 3 เมตรโดยเฉพาะผนังภายนอกควรใช้ระบบ MECHANICALในการติดตั้ง
เช่น ใช้ BOL Tยึดแผ่นหินติดกับผนัง